ตลาดเครื่องสำอางจีนเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มาก หลายแบรนด์หรูจากนอกต่างเข้ามายึดหัวหาดครองตลาดอยู่นับหลายสิบปี

จากผลการสำรวจพบว่าในช่วงระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา 3 ใน 4 ของผู้บริโภคจีนเลือกซื้อสินค้าเกี่ยวกับความงามที่เป็นแบรนด์ในประเทศ ร้อยละ 50 เป็นการซื้อครั้งแรก และเกือบร้อยละ 90 พิจารณาที่จะซื้อซ้ำตลาดเครื่องสำอางจีนเป็นอีกตลาดที่มีขนาดใหญ่มาก แต่ไหนแต่ไรมาเครื่องสำอางหรูแบรนด์พรีเมียม คุณภาพสูงจากต่างประเทศ เช่น ฝรั่งเศส สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลีเข้ามาทำยอดขายได้สบายๆ แม้จะมีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่เป็นแบรนด์ท้องถิ่นของจีนเปิดตัวบ้างประปราย แต่บรรดาแบรนด์นอกก็ไม่ถือว่าเป็นคู่แข่งหรือรู้สึกว่าเป็นภัยคุกคามแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามช่วงหลังๆ มานี้ สภาวการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเครื่องสำอางแบรนด์จีนทั้งหลายรุกหนักในตลาด จนดูเหมือนกลายเป็นยุคแห่งผลิตภัณฑ์ความงามจากจีนกำลังครองตลาดอย่างไรอย่างนั้น

เมื่อพูดถึงผลิตภัณฑ์ความงามหรือเครื่องสำอาง หลายคนคงนึกถึงแบรนด์ยุโรป แบรนด์ญี่ปุ่น หรือแบรนด์เกาหลี แต่แท้จริงแล้วแบรนด์ผลิตภัณฑ์ความงามของไทยก็เรียกได้ว่าไม่แพ้ใคร โดยเฉพาะในหมู่ชาวจีน เพราะเมื่อพูดถึงของฝากที่กำลังมาแรงและกลายเป็นอีกหนึ่งของฝากที่นักท่องเที่ยวจีนนิยมซื้อกันมากอย่างล้นหลามก็คงไม่พ้น “สินค้าเพื่อความงาม” ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณ ไปถึงผลิตภัณฑ์สปา โดยจากการค้นหาคอลัมน์และเว็บบอร์ดท่องเที่ยวไทย พบว่าแบรนด์สินค้าเพื่อความงามของไทยที่คนจีนแนะนำว่าควรซื้อติดมือเป็นของฝาก จากความนิยมดังกล่าว ทําให้ทั้งแบรนด์สินค้าเพื่อความงามของไทยทยอยบุกตลาดจีนกันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับเสียงตอบรับจากผู้บริโภคจีนไม่น้อย

ช่องทางออนไลน์ถือเป็นช่องทางที่สำคัญในการตีตลาดจีน เพราะปัจจุบันนี้ผู้บริโภคชาวจีนนิยมซื้อเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลผิวบนแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นจำนวนมาก เนื่องจากสะดวกและประหยัดเวลา ยิ่งไปกว่านั้น ทิศทางการซื้อขายออนไลน์ในจีนยังขยายตัวขึ้นต่อเนื่อง ตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยเมื่อปี 2551 จีนมี มูลค่าการซื้อขายทางธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์รวม 3.14 ล้านล้านหยวน และทยอยขยายตัวขึ้นในแต่ละปีจนถึงปี 2561 มีมูลค่ารวมสูงถึง 31.63 ล้านล้านหยวน ซึ่งขยายตัวถึง 10 เท่าในช่วงระยะเวลา 10 ปี ทำให้จีนได้ครองแชมป์การเป็นตลาดซื้อขายปลีกผ่านระบบออนไลน์ใหญ่ที่สุดในโลก

สําหรับผู้บริโภคโดยรวมแล้วพบว่าชาวจีน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุจะเลือกใช้วัตถุดิบที่สดใหม่มาปรุง อาหาร หรือบริโภคอาหารที่ปรุงเสร็จร้อนๆ มากกว่าเลือกใช้วัตถุดิบที่ผ่านการแปรรูปและบริโภคอาหารที่บรรจุสําเร็จ อาทิ อาหารพร้อมปรุง และอาหารพร้อมรับประทาน เหมือนกับกลุ่มคนจีนรุ่นใหม่ ที่อาศัยในเขตเมือง ทั้งนี้ วัยรุ่นชอบทดลองของใหม่ และชอบสินค้าที่เข้ากับยุคสมัย เพื่อแสดงภาพลักษณ์ของตนให้ดู ดีและทันสมัย ส่วนอาหารแห้งหรืออาหารที่ไม่เน่าเสียง่ายจะได้รับความนิยมในกลุ่มประชากรที่มีรายได้ต่ําที่อยู่ในเขต ชนบท เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างไกล การขนส่งเข้าไปไม่ถึง โอกาสของธุรกิจบริการอาหารในจีน

ธุรกิจบริการอาหาร” ในจีนมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเติบโตสูงมาก จากการศึกษาโดยกระทรวงเกษตรและอาหาร ของประเทศแคนาดาในปี 2555 ชี้ให้เห็นว่า ในปี 2553 ธุรกิจบริการอาหารในจีนมีมูลค่าเกินกว่า 333,000 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ ในช่วงระหว่างปี 2548-2553 กลุ่มธุรกิจบริการอาหารมีอัตราการเติบโตต่อปีร้อยละ 9.2 และมีแนวโน้มที่ขยายตัว อีก ด้วยอัตราร้อยละ 8.2 จนถึงปี 2558 อย่างไรก็ตาม ธุรกิจแบบเดลิเวอรี่ มีอัตรา ขยายตัวเร็วที่สุด คาดว่าในปี 2558 จะมีสัดส่วนในตลาดใหญ่ขึ้นถึงร้อยละ 50

ร้านอาหารเต็มรูปแบบ

ร้านอาหารเต็มรูปแบบของจีนส่วนใหญ่จะเป็นร้านอาหารเอเชียที่เป็นธุรกิจในครัวเรือน โดยร้านอาหารประเภทหม้อไฟ รูปแบบเอเชียเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ส่วนร้านอาหารแบบเสฉวน กวางตุ้ง ปักกิ่ง และเซี่ยงไฮ้ ก็ยังคงเป็นที่นิยมเช่นเดียวกัน ในช่วงระหว่างปี 2548 – 2553 ธุรกิจกลุ่มนี้มีอัตราเติบโตร้อยละ 8.9 Euromonitor คาด การณ์ว่าในปี 2558 ตลาดธุรกิจรูปแบบนี้ในจีนจะขยายตัวถึงร้อยละ 7.9 ซึ่งกลุ่มธุรกิจที่ครองสัดส่วนตลาดมากที่สุดคือ ร้านอาหารเอเชีย ทั้งนี้ ร้านอาหารเต็มรูปแบบที่เป็นที่นิยมและมีชื่อเสียง ได้แก่ Pizza Hut, Little Sheep, Xiao Wei Yang, Dezhuang และ Taoranjin

ธุรกิจร้านอาหารไทยในจีน

คนจีนในปัจจุบันนิยมรับประทานอาหารนอกบ้านกันมากขึ้น ทั้งหนุ่มสาวที่เป็นคนท่างานและคนที่อยู่เป็นครอบครัว เป็น โอกาสของธุรกิจร้านอาหารไทย ซึ่งพบว่าลูกค้าที่มารับประทานอาหารที่ร้านอาหารไทยโดยส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ ที่มีระดับรายได้ปานกลาง-สูง และส่วนใหญ่เป็นลูกค้าประจํา แต่ปัญหาคือผู้บริโภคชาวจีนรู้จักอาหารไทยค่อนข้างน้อย ต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์จากภาครัฐให้มากขึ้น ในอนาคตร้านอาหารไทยในจีนมีโอกาสเติบโตสูง ถ้าหากผู้ประกอบ การสามารถที่จะรักษาคุณภาพมาตรฐานรสชาติอาหารไทยไว้ได้ จะทําให้คนจีนรู้จักและต้องการทดลองรับประทาน อาหารไทยมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการไปท่องเที่ยวที่เมืองไทยทําให้ได้รู้จักและรับประทานอาหารไทย เมื่อกลับมาเมืองจีน ก็ยังคงชื่นชอบอาหารไทย นอกจากนี้ในการประกอบธุรกิจร้านอาหารในจีนยังมีอุปสรรคที่สําคัญ ดังนี้

1. ขั้นตอนการนําพ่อครัวมาทํางานที่จีนมีความยุ่งยาก เนื่องจากทางการจีนตรวจสอบเข้มงวด โดยเฉพาะเรื่องวุฒิการศึกษา Work permit ใบรับรองความรู้พื้นฐานในการปรุงอาหารหรือผสมอาหาร

2. การตรวจสอบทางด้านสุขอนามัยครัวมีความเข้มงวดมากขึ้น ประมาณปีละ 2 ครั้ง ทางการจีนจะไม่มีการแจ้งล่วง หน้า และค่าปรับสูง

3. ขาดแคลนบุคลากร ได้แก่ พ่อครัวคนไทย พนักงานเสิร์ฟ

4. ขาดการรวมกลุ่มกันระหว่างร้านอาหารไทยในจีน

5. ปัญหาวัตถุดิบปลอม เช่น ข้าว กะทิ เครื่องปรุงรส

เอกสารอ้างอิง

การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารไทยในประเทศจีน เพื่อวางกลยุทธ์ผลักดันการเติบโตของธุรกิจร้านอาหารไทย, ภาย ใต้โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้เป็นครัวอาหารคุณภาพของโลก, กันยายน 2556

สนใจบทความในตอนต่อไป สามารถเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ที่ คลิ๊ก

For further information or interested to OEM Cosmetics, please visit: www.greentechbiolab.com

ที่มา :

http://fic.nfi.or.th/MarketOverviewWorldDetail.php?id=6

https://globthailand.com/china06122019/

สอบถามเพิ่มเติม